รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิทยาการจัดการ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะวิทยาการจัดการ ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.84 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.91  อยู่ในระดับดีมาก   สรุปดังนี้

มาตรฐาน คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1  - 5.00 3.13 3.88 ดี
มาตรฐานที่ 2 5.00 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 4.13 5.00 4.63 4.74 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ 4.57 5.00 4.40 4.91 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดี ดีมาก  

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

มาตรฐานที่ 1

จุดแข็ง

  1. คณะมีการส่งเสริมนักศึกษาพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะควรยกระดับหรือพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจ

แนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. แผนผลิตบัณฑิตควรสร้างความแตกต่างของการผลิตบัณฑิตที่โดดเด่น เช่น พัฒนาให้เป็นนักปฏิบัติแบบมืออาชีพ หรือสามารถเป็นผู้ประกอบการได้ โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดความสำเร็จของบัณฑิตที่สามารถวัด Outcome ของบัณฑิต
  2. การทอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีสะท้อนให้เห็นกระบวนการ ผู้รับผิดชอบ และเอกสารที่ชัดเจน เช่น สร้างเป็น Model หรือทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน(ที่มี Process ที่สำคัญ)

มาตรฐานที่ 2

จุดแข็ง

  1. คณะมีเงินสนับสนุนทุนวิจัย 81,947.06/คน
  2. งานวิจัย และงานสร้างสรรค์สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

แนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะควรมุ่งเน้นการวิจัยบูรณาการศาสตร์ตามจุดเน้นของแหล่งทุน วิสัยทัศน์ของคณะและมหาวิทยาลัย
  2. ควรให้อาจารย์ที่มีผลงานเผยแพร่และมีการ Citation จำนวนมากมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคกับกลุ่มอาจารย์ที่สนใจในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
  3. ควรส่งเสริมให้มีแนวทางในการขอรับสนับสนุนเงินจากมหาวิทยาลัยในลักษณะเฉพาะของคณะ โดยพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของคณะ

มาตรฐานที่ 3

จุดแข็ง

  1. คณะได้มีการนำประสบการณ์และการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ในการพัฒนาพื้นที่เพชรยางหย่อง ทำให้ร่นระยะเวลาในการพัฒนาได้เพิ่มขึ้น

แนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. การกำหนดตัวชี้วัดการบริการวิชาการควรมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome)

มาตรฐานที่ 4

จุดแข็ง

  1. คณะมีนโยบายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ กับศิลปวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ และการบริการสู่รูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้ชุมชนยั่งยืน

มาตรฐานที่ 5

จุดแข็ง

          -

แนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ควรมีการทบทวนวิสัยทัศน์ โดยกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถวัดความสำเร็จได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์
  2. ควรมีแผนการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
  3. ยกระดับการทำงานผลงานทางวิชาการให้เผยแพร่ในระดับ Scopus ให้มากขึ้น

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565