รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ย 4.45 อยู่ในระดับดี
คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับดี สรุปดังนี้
มาตรฐาน | คะแนนการประเมินเฉลี่ย | ผลการประเมิน | |||
I | P | O | รวม | ||
มาตรฐานที่ 1 | - | 4.00 | 4.55 | 4.33 | ดี |
มาตรฐานที่ 2 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | 5.00 | ดีมาก |
มาตรฐานที่ 3 | - | 4.00 | 2.65 | 3.10 | พอใช้ |
มาตรฐานที่ 4 | - | 4.00 | 5.00 | 4.50 | ดี |
มาตรฐานที่ 5 | 4.13 | 5.00 | 4.29 | 4.67 | ดีมาก |
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ | 4.57 | 4.43 | 4.32 | 4.40 | ดี |
ผลการประเมิน | ดีมาก | ดี | ดี | ดี |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป
มาตรฐานที่ 1
จุดแข็ง
-
ข้อเสนอแนะ
- คณะควรมีการวางแผนเชิงรุกในการจัดกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนวิชาการและพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของคณะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาให้มีความพร้อมและสามารถแข่งขันและได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติ
- คณะควรมีการถอดองค์ความรู้จากการดำเนินงานด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สามารถนำไปเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
มาตรฐานที่ 2
จุดแข็ง
- อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีศักยภาพสูงในการวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานทุนภายนอกเป็นเงินทุนจำนวนวนมากภายใต้โครงการวิจัยที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมของท้องถิ่นและสังคม
- ผลงานวิจัยของอาจารย์ประจำคณะมีคุณภาพและมีผลกระทบต่อแวดวงวิชาการที่สูง โดยได้รับการอ้างอิงในวารสารที่ปรากฏชื่อในฐานข้อมูลระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก
แนวทางเสริมจุดแข็ง
คณะควรมีถอดองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติที่ดีจากนักวิจัยที่มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาหัวข้อการวิจัย การขอทุนสนับสนุนการวิจัย และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในสื่อสิ่งพิมพ์ระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางอย่างเป็นระบบแก่อาจารย์ประจำคณะในทุกหลักสูตร/สาขาวิชา
มาตรฐานที่ 3
จุดแข็ง
-
ข้อเสนอแนะ
- ควรจัดกิจกรรม/โครงการที่เพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เนื่องจากคณะสามารถสร้างเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้หลากหลาย
- ควรเปรียบเทียบผลการดำเนินงานและผลการปรับปรุงให้ชัดเจนและขับเคลื่อนไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนต่อไป
มาตรฐานที่ 4
-
มาตรฐานที่ 5
จุดแข็ง
- คณะมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคณะ ยุทธศาสตร์ของคณะผ่านตัวชี้วัดร้อยละ 96
- คณะมีการกำกับติดตามหลักสูตรผ่านเกณฑ์ร้อยละ100
- คณะมีบุคลากรสายวิชาการวุฒิปริญญาเอกเกินเกณฑ์ร้อยละ 44.68
ข้อเสนอแนะ
- ควรปรับปรุงรายงานด้านจุดคุ้มทุนให้มีรายงานสัดส่วนงบประมาณตามลำดับความสำคัญ
- ควรจัดทำแผนปรับปรุงหลักสูตรเน้นผลลัพธ์ของผู้เรียน
- ควรใช้ศักยภาพอาจารย์วุฒิปริญญาเอกร่วมสร้างนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์และบูรณาการสู่การพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายของคณะ
- ควรส่งเสริม สนับสนุนบุคลากร พัฒนาคุณวุฒิและเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
- ควรส่งเสริมการสร้างผลงานทางวิชาการรายบุคคลตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับที่สูงขึ้นและสร้างนวัตกรรมสู่แนวปฏิบัติที่ดี
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565