รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของ
คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.84 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.84 อยู่ในระดับดีมากสรุปดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1   5.00 4.52 4.71 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 5.00 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 3.95 5.00 4.48 4.61 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกมาตรฐาน 4.48 5.00 4.80 4.84 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก  

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

จุดแข็ง

  1. คณะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยจากการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ทุกหลักสูตร
  2. คณะมีการทบทวนและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติราชการ รอบ 6 และ 12 เดือน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร รอบ 6 และ 12 เดือน
  3. คณะมีแผนความเสี่ยงโดยระบุแนวทางการจัดการความเสี่ยง
  4. คณะมีการจัดสอบสมรรถนะชั้นปีของนักศึกษาพยาบาลเพื่อให้ลดความเสี่ยงในการสอบขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตในวิชาชีพการพยาบาลจนครบร้อยละ 100
  5. คณะได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอกที่สูง
  6. คณะได้รับรายได้จากการบริการวิชาการที่สูง

แนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. ควรส่งเสริมการหารายได้จากการบริการวิชาการในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น การเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น
  2. ควรมีการทำข้อเสนอทุนวิจัย (คลังข้อเสนอทุนวิจัย) เพื่อขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยที่มากขึ้น
  3. ควรมีการดำเนินการในส่วนของคลังหน่วยกิต เพื่อรองรับการเรียนรู้ทุกช่วงวัย

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรเพิ่มการสำรวจข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมาใช้เพื่อกำหนดความต้องการที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน รวมถึงหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อนำมาวางแผนพัฒนายุทธศาสตร์ของคณะ
  2. การวิเคราะห์แนวโน้มและต้นทุนต่อหน่วย ควรแสดงผลการดำเนินงาน 3-5 ปีย้อนหลังเพื่อเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ในแต่ละปี แต่ละหลักสูตร เช่น การทำกราฟแนวโน้ม
  3. ควรแสดงระบบกลไกในการติดตาม กำกับการดำเนินการทุกความเสี่ยงอย่างเป็นระยะ (รายงานทุกเดือน)
  4. ควรขยายแนวทางการจัดสอบสมรรถนะชั้นปีของนักศึกษาพยาบาลดำเนินงานการไปยังหลักสูตรอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง
  5. ควรส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการแก่นักศึกษาให้มากขึ้น
  6. สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาตนเองในด้านตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีการกำหนดแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลในด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพเพื่อสร้างความโดดเด่นเฉพาะและสร้างเอกลักษณ์ของบุคคลและหน่วยงาน
  7. ควรพัฒนากระบวนการส่งเสริมนักวิจัยหน้าใหม่ของคณะเพื่อให้ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565