รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.83 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.81  อยู่ในระดับดีมาก   สรุปดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1   5.00 4.45 4.67 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 3.92 5.00 5.00 4.78 ดีมาก
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 4.44 5.00 4.62 4.77 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกมาตรฐาน 4.18 5.00 4.80 4.81 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก  

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

มาตรฐานที่ 1

จุดแข็ง

  1. คณะมีการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน โดดเด่นด้านอาหารและเผยแพร่ต่อสาธารณะชนโดยประจักษ์ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก
  2. คณะมีกิจกรรมที่นำนักศึกษาลงชุมชนเพื่อบริการวิชาการได้อย่างชัดเจนและโดดเด่นส่งผลดีและพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
  3. สโมสรนักกศึกษาของคณะมีความเข้มแข็งและมีการจัดทำแผนที่ชัดเจนและลงสู่การปฎิบัติที่เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้
  4.   คณะมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่หลากหลายและมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ข้อมูลของการจัดกิจกรรมได้อย่างดีเยี่ยม
  5. คณะมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นเป็นจำนวนมาก

ข้อเสนอแนะ

ควรส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาโดยเฉพาะสาขาวิชาที่โดดเด่นด้านอาหาร          

มาตรฐานที่ 2

จุดแข็ง

          มียุทธศาสตร์และกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาด้านงานวิจัยอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยมีวารสารของคณะซึ่งมีมาตรฐานในระดับชาติ และมีการพัฒนาในด้านห้องปฏิบัติการทั้งในด้านงบประมาณและการสร้างมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

          แม้ว่าผลงานวิชาการของอาจารย์ทุกสาขาในภาพรวมได้คะแนนเต็มตามเป้าหมาย แต่พบว่าการของบประมาณด้านการวิจัยไม่กระจายในทุกสาขาวิชา ซึ่งคณะอาจสร้างและเสริมแนวทางการมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยงเพื่อขอทุนวิจัยจากภายนอก รวมทั้งเพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ ตามแนวคิดของการพัฒนาอาจารย์แบบ Mentorship ในระดับอุดมศึกษาด้วย

มาตรฐานที่ 3

จุดแข็ง

           คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาจนสามารถขอเลขจดแจ้งตามมาตรฐานสากลได้

แนวทางเสริม

          ควรถอดบทเรียนความสำเร็จจากการดำเนินโครงการบริการวิชาการ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดควรพัฒนาเป็นรายโครงการ และอาจส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมบริการวิชาการระหว่างสาขาวิชา เพื่อยกระดับการจัดกิจกรรมที่แสดงถึงศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ในภาพรวมของคณะ และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

มาตรฐานที่ 4

จุดแข็ง

          มีการกำหนดจุดเน้นการดำเนินงานด้านศิลปะวัฒนธรรมที่ชัดเจนและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีการร่วมมือกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก ในการร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำพัฒนาให้เกิดมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรมได้   

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา       

          นำผลงานเชิงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่โดดเด่น อาทิ ด้านข้าว อาหารพื้นบ้าน ที่คณะทำมาอย่างต่อเพื่อมาใช้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานที่โดดเด่นให้กับคณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และสร้างมูลค่าต่อชุมชนและท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างชัดเจน

มาตรฐานที่ 5

จุดแข็ง

          คณะมีพันธกิจสอดคล้องกับมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์  มีการวางแผนการดำเนินงานด้านบริหาร ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นระบบที่ชัดเจน

ข้อเสนอแนะ

          คณะมีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก  แต่ควรยกระดับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ปัจจุบันของ ก.พ.อ.

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565