รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานอธิการบดี มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ตามมาตรฐานของคุณภาพตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ย 4.93 อยู่ในระดับดีมาก
คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา 2565 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของสำนักงานอธิการบดี เท่ากับ 4.88 อยู่ในระดับดีมาก สรุปดังนี้
องค์ประกอบคุณภาพ | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | บรรลุเป้าหมาย | คะแนนการประเมิน | ||
ตัวตั้ง | ผลลัพธ์ | P= บรรลุ | ของคณะกรรมการ | |||
ตัวหาร | (%หรือสัดส่วน) | O= ไม่บรรลุ | ||||
ตัวบ่งชี้บังคับ | ||||||
มรภ.พบ.ที่ 1.1 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.2 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.3 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.4 | 4.50 | คะแนน | 4.74 | P | 4.74 | |
มรภ.พบ.ที่ 1.5 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.6.1 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.6.2 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 5 | P | |
มรภ.พบ.ที่ 1.7 | 4.50 | คะแนน | 4.70 | P | 4.70 | |
คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้บังคับ | 4.92 | |||||
ตัวบ่งชี้ร่วม | ||||||
มรภ.พบ.ที่ 1.8 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 6 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 1.9 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 6 | P | 5.00 |
คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้ร่วม | 5.00 | |||||
ตัวบ่งชี้เฉพาะ | ||||||
มรภ.พบ.ที่ 4.1 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 6 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.2 | 5 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6 | 6 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.3 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.4 | 4 | คะแนน | 1,2,3 | 3 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.5 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.6 | 6 | คะแนน | 1,2,3,4,5,6,7 | 7 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.7 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.8 | 4.50 | คะแนน | 138 | 45.06 | P | 5.00 |
656 | ||||||
มรภ.พบ.ที่ 4.9 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4,5 | 5 | P | 5.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.10 | 4 | คะแนน | 1,2,3,4 | 4 | P | 3.00 |
มรภ.พบ.ที่ 4.11 | 4.50 | คะแนน | 21 | 80.77 | P | 5.00 |
26 | ||||||
คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้เฉพาะ | 4.82 | |||||
เฉลี่ยคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ของทุกองค์ประกอบ | 4.88 |
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป
จุดแข็ง
- สำนักงานอธิการบดีมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานที่ครอบคลุมทุกพันธกิจ เช่น PBRU SMART, E-Doc การดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพต่อกระบวนการบริการ
- มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่พร้อมใช้ในการตอบสนองการดำเนินการตาม พันธกิจของสถาบันและได้รับมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประเมิน
- บุคลากรมีจิตบริการ (Service mind) พร้อมให้บริการผู้รับบริการทุกกลุ่มพร้อมทั้งความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ สามารถเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
แนวทางการเสริมจุดแข็ง
- สำนักงานฯ ควรมีการสอบถามความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการต่อระบบต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ในการต่อยอดระบบให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
- สำนักงานฯ ควรศึกษาแนวทางพัฒนาการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการเตรียมความพร้อมและข้อจำกัดของอาคารสถานที่ เพื่อนำสารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ให้พร้อมใช้และตรงตามความต้องการความคาดหวังของผู้รับบริการ
- สำนักงานฯ ควรยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน คือ ภายในปี 2570 จะเป็นองค์กรที่มีสมรรถณะสูง เช่น พัฒนาคนให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเชี่ยวชาญ มีมาตรฐานการบริการที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการบริหารงาน ลดระยะเวลาการทำงานและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ
ข้อเสนอแนะ
- กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจนโดยเน้นการกำหนดตัวชี้วัดที่วัดผลลัพธ์และผลกระทบต่อการดำเนินงาน
- สำนักงานฯ ควรปรับระบบการกำกับติดตามและการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความชัดเจน รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในการกำกับติดตามและการปรับปรุงการดำเนินงานต่อยอดไปสู่การจัดการความรู้และการพัฒนานวัตกรรม
- สำนักงานฯ ควรพัฒนาแผนการบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) มาใช้ในสำนักงานเพื่อทำให้สำนักงานสามารถดำเนินงานตามพันธกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีวิกฤตหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ รวมทั้งสามารถกลับมาดำเนินการตามปกติได้อย่างรวดเร็ว
- สำนักงานฯ ควรวางแผนการสื่อสารองค์กรและการดำเนินงานด้านการตลาดเชิงรุกเพื่อทำให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันต่อการใช้งานและรับรู้ภาพลักษณ์ขององค์กร การดำเนินงานดังกล่าวอาจส่งผลให้ มหาวิทยาลัยมีภาพลักษณ์ที่ดี ได้รับการยอมรับและผู้รับบริการเกิดความผูกพันต่อมหาวิทยาลัย
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565