รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.72 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.70  อยู่ในระดับดี   สรุปดังนี้

มาตรฐาน คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1  - 5.00 4.55 4.73 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 5.00 5.00 3.97 4.38 ดี
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 4.13 5.00 4.55 4.67 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ 4.57 5.00 4.51 4.70 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก  

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

มาตรฐานที่ 1

จุดแข็ง

  1. คณะมีการจัดทำโครงการที่ครอบคลุมผลลัพธ์ 3 ด้านของผู้เรียน คือ ด้านความรู้ความสามารถ
    การเป็นผู้สร้างและผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
  2. คณะมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาได้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ 1) เป็นบุคคลมีความรู้ความสามารถ 2) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 และ 3) พลเมืองเข้มแข็ง

ข้อเสนอแนะ

  1. คณะควรมีการกำกับติดตามการประกันคุณภาพของหลักสูตรให้มีพัฒนาการดีขึ้นทั้งการตรวจประเมินแบบ IQA และ PBRUQA
  2. คณะควรมีการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตโดยเฉพาะศิษย์เก่าให้ครอบคลุมทุกหลักสูตร
  3. คณะควรมีการสำรวจความต้องการของศิษย์เก่า ทิศทางในอนาคต เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำหลักสูตรระยะสั้น Reskill Upskill เพื่อพัฒนาศิษย์เก่า
  4. คณะควรมีการกำหนดสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการให้เป็นแผนของคณะและมีแนวทางการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนเพิ่มมากขึ้น
  5. ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง Active learning ให้ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา
  6. คณะควรมีการทบทวนแผนโครงการที่ไม่บรรลุผลสำเร็จเพื่อนำมาประเมินการปรับปรุงในรอบปีต่อไป
  7. คณะควรมีกระบวนการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เข้าแข่งขันทักษะวิชาการ/วิชาชีพในระดับชาติ/นานาชาติให้เพิ่มสูงขึ้น
  8. คณะควรมีการทบทวนแผนในปีที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการพัฒนานักศึกษาให้สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเวลา

มาตรฐานที่ 2

จุดแข็ง

  1. อาจารย์มีศักยภาพสูงในการของบประมาณวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกโดยการวิจัยมีหน่วยงานรัฐนำไปใช้ประโยชน์และเข้าสู่การคุ้มครองสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา
  2. งานวิจัยได้รับการอ้างอิงแสดงถึงความสามารถทางวิชาการในการนำไปใช้สร้างองค์ความรู้ในประเด็นที่ตอบโจทย์มิติทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

แนวทางเสริม

  1. สร้างคลังโครงร่างชุดวิจัยสำหรับขอทุนวิจัยภายนอกเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในคณะทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
  2. จัดทำแนวปฏิบัติที่ดีของการทำวิจัยที่มีหน่วยงานนำใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ เช่น มิตินโยบาย มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ เป็นต้น และได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา
  3. กำหนดเป้าหมายผลงานวิจัยของคณะที่สอดคล้องกับเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์เพื่อนำมากำหนดระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมาย
  4. 4. เพิ่มองค์ความรู้/ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน/สถานศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับศาสตร์และวิชาชีพครูทั้งนี้ เนื่องจากคณะมีหลักสูตรวิชาชีพครูน่วมอยู่ด้วย (8 หลักสูตร)

มาตรฐานที่ 3

จุดแข็ง

  1. เป็นศูนย์พัฒนากำลังคนและศูนย์สอบด้านภาษา
  2. มีการบริการวิชาการและเครือข่ายชุมชนที่มีส่วนร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก
  3. สร้างงานบริการแบบชุมชนมีส่วนร่วมที่สร้างผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับจุดเน้นของคณะ

แนวทางเสริม

  1. พัฒนาระบบงานบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องทั้งเชิงพื้นที่และเชิงกิจกรรมโดยใช้ศักยภาพของของศูนย์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  2. มุ่งสร้างโอกาส มูลค่าเพิ่มของผลงานของอาจารย์และนักศึกษาที่ครอบคลุมทุกสาขาในเวทีระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ระดับภาค

มาตรฐานที่ 4

จุดแข็ง

          คณะสามารถขับเคลื่อนให้ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยได้รับรางวัลในระดับชาติได้

แนวทางเสริม

          คณะควรมีการพัฒนาสนับสนุนให้สาขาอื่นให้ได้ดำเนินการด้านผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้เป็นที่ประจักษ์

มาตรฐานที่ 5

จุดแข็ง

  1. คณาจารย์ของคณะมีความรู้ความสามารถและมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานระดับคณะและสามารถนำประสบการณ์และทักษะทางวิชาการมาใช้ในการวิจัยและบริการวิชาการระดับมาก

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  1. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรควรมีการเปรียบเทียบกับหลักสูตรสาขาเดียวกันในสถาบันอื่นเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และองค์ประกอบของงบประมาณที่นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันการผลิตบัณฑิต
  2. กำกับติดตามการพัฒนาตนเองของอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้เพิ่มมากขึ้นและเป็นไปตามแผนพัฒนารายบุคคลของคณะ
  3. การดำเนินการด้านประเด็นความเสี่ยงควรวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคของผลการลดลงของความเสี่ยงเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงต่อไป
  4. กำกับติดตามการดำเนินงานของหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรและองค์กรวิชาชีพและพัฒนาให้มีระดับคุณภาพเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565