รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะครุศาสตร์ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะครุศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.92 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.80  อยู่ในระดับดีมาก   สรุปดังนี้

มาตรฐาน คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1  - 5.00 4.87 4.92 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 5.00 5.00 4.60 4.76 ดีมาก
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 4.13 4.50 4.51 4.45 ดี
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ 4.57 4.86 4.79 4.80 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก  

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

จุดแข็ง

  1. คณะได้รับทุนวิจัยจากภายนอกเพิ่มขึ้น และมีระบบและกลไกบริหารให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการแผนงานชุดวิจัย
  2. คณาจารย์ของคณะมีคุณวุฒิปริญญาเอก และมีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยและมีผลงานทางวิชาการอยู่ในระดับมาก
  3. คณะมีโครงการบริการวิชาการและเครือข่ายวิจัยและบริการวิชาการในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

มาตรฐานที่ 1

  1. คณะควรมีการเตรียมความพร้อมการดำเนินการของหลักสูตรตามรูปแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ (PBRU-QA)
  2. การวางแผนโครงการพัฒนานักศึกษา กำหนดกิจกรรม ค่าเป้าหมายและตัวบ่งชี้ ควรมีการวิเคราะห์กิจกรรม การออกแบบกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะ
  3. คณะควรดำเนินการรวบรวมข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อจัดทำฐานข้อมูลศิษย์เก่าเพื่อการวางแผนพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตครูให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งนำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาศิษย์ปัจจุบันได้

มาตรฐานที่ 2 

          คณะควรเพิ่มองค์ความรู้เพื่อทำผลงานทรัพย์สินทางปัญญาตามศาสตร์วิชาชีพครู เช่น หนังสือนิทานพื้นบ้าน เพลง เป็นต้น

มาตรฐานที่ 3

          คณะควรมีการบริการวิชาการตามศาสตร์ของคณะโดยมีความร่วมมือกับสถานศึกษาในชุมชนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์

มาตรฐานที่ 4

          พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีที่สอดคล้องกับศาสตร์ของหลักสูตรในสังกัดของคณะ ที่แตกต่างจากปีประเมินที่ผ่านมา

มาตรฐานที่ 5

  1. การวางแผนโครงการด้านต่างๆ ทั้งการกำหนดกิจกรรม เป้าหมาย และตัวชี้วัดสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์ของคณะ
  2. การบริหารความเสี่ยงไม่ควรนำปัญหามาเป็นประเด็นความเสี่ยง แต่ควรกำหนดประเด็นความเสี่ยงจากการวิเคราะห์ประเด็น SWOT เพื่อนำผลการดำเนินการปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาคณะ
  3. การกำกับติดตามการพัฒนาตนเองของอาจารย์ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้เพิ่มมากขึ้น และเป็นไปตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565