รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.54 อยู่ในระดับดี

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.39  อยู่ในระดับดี   สรุปดังนี้

มาตรฐาน คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1   5.00 4.56 4.74 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 2.40 5.00 3.64 3.66 ดี
มาตรฐานที่ 3  - 4.00 5.00 4.67 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 4.17 4.58 ดีมาก
มาตรฐานที่ 5 4.27 5.00 3.97 4.56 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ 3.34 4.86 4.27 4.39 ดี
ผลการประเมิน พอใช้ ดีมาก ดี ดี  

จุดแข็งและข้อเสนอแนะในภาพรวม

มาตรฐานที่ 1

จุดแข็ง

คณะมีระบบกำกับติดตามและการประเมินผลการพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินการด้านการผลิตบัณฑิตมีความโดดเด่น

ข้อเสนอแนะ

ควรวิเคราะห์ สังเคราะห์ การเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา และบัณฑิตเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการพัฒนาด้านวิชาชีพต่อไป      

มาตรฐานที่ 2

จุดแข็ง

คณะมีระบบกลไกในการส่งเสริม กำกับและติดตามการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทุนสนับสนุนการวิจัย รวมถึงผลงานทางวิชาการ นวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

ควรเร่งกระบวนการในการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

มาตรฐานที่ 3

จุดแข็ง

คณะมีการกำหนดเป้าหมายชุมชนในการให้บริการวิชาการอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้รวมถึงรายได้จากการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการขับเคลื่อนให้ชุมชนจนนำไปสู่การจดวิสาหกิจชุมชน หรือการจดผลิตภัณฑ์อย่างเป็นรูปธรรม

มาตรฐานที่ 4

จุดแข็ง

คณะมีจำนวนแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่น          

ข้อเสนอแนะ    

  1. ควรมีการวิเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และสามารถนำไปสู่การได้รับรางวัลเชิดชูได้
  2. องค์ความรู้จะต้องแสดงออกมาเป็นรูปธรรมในรูปแบบของรูปเล่มหรือสื่อและต้องสอดคล้องกับทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การทำเรื่องข้าวควรนำเสนอด้านความเชื่อของการปลูกข้าวหรือภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้าว เป็นต้น

มาตรฐานที่ 5

จุดแข็ง

          คณะมีรูปแบบการบริหารจัดการรวมถึงระบบการกำกับการประกันคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานในมิติต่าง ๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างดี

ข้อเสนอแนะ

          คณะควรเร่งกำกับติดตามแผนการพัฒนาบุคลากรตามที่วางไว้ เช่น การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำคณะ

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565