รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะเทคโนโลยีการเกษตร  มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับดี

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เท่ากับ  4.33 อยู่ในระดับดี   สรุปดังนี้

มาตรฐาน คะแนนการประเมินเฉลี่ย  ผลการประเมิน
I P O รวม
มาตรฐานที่ 1  - 5.00 4.43 4.66 ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 5.00 4.00 2.11 3.07 พอใช้
มาตรฐานที่ 3  - 5.00 4.78 4.86 ดีมาก
มาตรฐานที่ 4  - 5.00 5.00 5.00 ดี
มาตรฐานที่ 5 4.13 5.00 4.48 4.77 ดีมาก
คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ 4.57 4.86 3.87 4.33 ดี
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดี ดี  
  • จุดแข็ง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

องค์ประกอบที่ 1

            จุดเด่น

  1. คณะมีการจัดการหลักสูตรเพื่อพัฒนาศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักสูตรที่จัดขึ้นมานั้น ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
  2. คณะมีการจัดทำ ศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นผลให้การเข้าถึงสื่อ/องค์ความรู้ได้สะดวกขึ้น
  3. คณะมีผลการประเมินทักษะความเป็นรู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  4. คณะมีการแผนผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัยที่ครอบคลุมผลลัพธ์ผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน และถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติ มีการประเมินความสำเร็จของแผน และได้รับรางวัลระดับชาติอย่างต่อเนื่อง
  5. คณะมีแผนการพัฒนานักศึกษาครอบคลุมและสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโดยมีการดำเนินการและประเมินความสำเร็จของแผน ซึ่งสะท้อนผลการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่างๆ ของคณะได้อย่างชัดเจน

            ข้อเสนอแนะ

  1. ควรนำเสนอผลการดำเนินการ/ผลสำเร็จของกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปประยุกต์ใช้ต่อ
  2. คณะนำผลการประเมินทักษะฯ มาวิเคราะห์และจัดทำแผนพัฒนาทักษะฯ นี้ ในประเด็นที่ยังมีผลการประเมินในระดับที่น้อยอยู่

องค์ประกอบที่ 2

            จุดเด่น

            คณะมีการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนางานวิจัยอย่างชัดเจน และมีการผลักดันเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยของบุคลากรในคณะอย่างต่อเนื่อง

            ข้อเสนอแนะ

            คณะต้องเร่งพัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมกระบวนการนำผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมได้รับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและการใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้อาจารย์ประจำคณะสามารถได้รับการคุ้มครองสิทธิเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 3

            จุดเด่น

  1. มีพื้นที่การบริการวิชาการที่ชัดเจนและสามารถดำเนินงานรวมถึงสร้างเข้มแข็งชุมชนให้กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถสร้างนวัตกรรมการตอบสนองความต้องการของชุมชน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับมูลค่าและส่งเสริมมูลค้าเชิงเศรษฐกิจ เช่น ตลาดชุมชน และการยกระดับความร่วมมือกับในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

  1. นำผลกระทบจากการบริการวิชาการอย่างเป็นระบบเพื่อวางแผนการดำเนินงานและเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ
  2. ส่งเสริมระบบคุ้มครองสิทธิ์นวัตกรรมที่เกิดจากการบริการวิชาการ เพื่อก่อให้เกิดรายได้

องค์ประกอบที่ 4

          จุดเด่น

  1. มีการบูรณาการหลายศาสตร์ในการดำเนินโครงการ และมีการร่วมมือกับหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก ในการร่วมกันจัดทำแผนบูรณาการด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านการเกษตรในการนำพัฒนาให้เกิดมูลค่าด้านศิลปวัฒนธรรมได้
  2. มีการนำวัสดุในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางศิลปวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการยกระดับทางเศรษฐกิจชุมชน เช่น การพัฒนาฐานเรียนรู้แปลงเกษตรสมุนไพรเพื่อบริการวิชาการและสุขภาพของประชาชน และ การยกระดับวัฒนธรรมการแห่วัวเทียมเกวียน เป็นต้น

          ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

          นำผลงานเชิงอัตลักษณ์และวัฒนธรรม อาทิ ลายผ้าอัตลักษณ์เมืองเพชร และแหล่งเรียนรู้เกษตรวิถีไทยที่คณะทำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาใช้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานที่โดดเด่นให้กับคณะเพื่อการประชาสัมพันธ์และสร้างมูลค่าต่อชุมชนและท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสและมูลค่าทางวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดเพชรบุรีได้

องค์ประกอบที่ 5

         จุดเด่น

  1. คณะได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ จำนวน 30 กว่าล้านบาท ทำให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
  1. คณาจารย์มีผลงานวิจัย เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก

            ข้อเสนอแนะ

            ความคุ้มค่าของหลักสูตรยังมีสภาพไม่คุ้มค่า เนื่องจากนักศึกษาในปีการศึกษา 2565 ลดลง คณะควรมีการหากลยุทธ์ในการขับเคลื่อน เพื่อให้นักศึกษาเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน   คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565