รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานของคุณภาพตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.95 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการมีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เท่ากับ 4.89 อยู่ในระดับดีมาก สรุปดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน บรรลุเป้าหมาย คะแนนการประเมินของคณะกรรมการ
ตัวตั้ง ผลลัพธ์ P= บรรลุ
ตัวหาร (%หรือสัดส่วน) O= ไม่บรรลุ
ตัวบ่งชี้บังคับ            
มรภ.พบ.ที่  1.1 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.2 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่  1.3 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่  1.4 4.50 คะแนน   4.73 P 4.73
มรภ.พบ.ที่ 1.5 4 คะแนน 1,2,3,4 4 P 4.00
มรภ.พบ.ที่ 1.6.1 4 คะแนน 1,2,3,4,5,6 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.6.2 4 คะแนน 1,2,3,4,5,6 5 P
มรภ.พบ.ที่ 1.7 3.51 คะแนน   4.61 P 4.61
        คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้บังคับ 4.76
ตัวบ่งชี้เฉพาะ            
มรภ.พบที่  2.1 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบที่  2.2 4.50 คะแนน 390,304.00  195,152.00 P 5.00
2
มรภ.พบที่  2.3 4.50 คะแนน 2 100.00 P 5.00
2
มรภ.พบที่  2.4 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบที่  2.5 4.50 คะแนน 15 187.50 P 5.00
8
มรภ.พบที่  2.6 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบที่  2.7 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
        คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้เฉพาะ 5.00
เฉลี่ยคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ของทุกองค์ประกอบ 4.89

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

จุดเด่น

  1. สถาบันวิจัยมีการพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การมีรูปแบบและกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นดังจะเห็นได้จากการที่นักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยหัวข้อการวิจัยที่ทันสมัยและตอบโจทย์การพัฒนาความยั่งยืนของท้องถิ่น
  2. มีการกำหนดแผนที่ชัดเจนและมีการกำกับติดตาม ให้ดำเนินงานตามแผนได้อย่างครบถ้วน
  3. ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานสามารถดึงศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้
  4. มีการนำแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบBCG มาใช้ ทำให้มีเป้าหมายเพื่อการจัดการกับวัตถุดิบได้ทุกส่วน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และใช้ทรัพยากรในชุมชนได้อย่างคุ้มค่า 5. มีการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม และเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง หลายช่องทาง
  5. มีการนำการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการกับศิลปวัฒนธรรมสู่การสร้างองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ และเผยแพร่สู่สาธรณชนได้อย่างโดดเด่น

ข้อเสนอแนะ

  1. สถาบันวิจัยฯ ควรมีการทบทวนประเด็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันฯ เมื่อดำเนินการจนความเสี่ยงนั้นลดลงจนอยู่ในระดับต่ำหรือหมดไป ไม่ควรนำความเสี่ยงนั้นมาพิจารณาอีกในรอบต่อไป
  2. 2. นักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัย ควรให้ความสำคัญกับการทำวิจัยสถาบันเพื่อสนับสนุนภารกิจของสถาบันวิจัยหรือภารกิจของมหาวิทยาลัย
  3. 3. ควรมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับบุคคลากรของมหาวิทยาลัย ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและมีความคล่องตัวสูงในการบริหารจัดการ ในรูปแบบ "ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property office; IPO)" ซึ่งจะนำไปสู่การมีโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยอีกรูปแบบหนึ่ง
  4. - ให้มีการกำกับติดตามการดำเนินงานโดยคณะกรรมการด้านศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เพื่อการขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรมโดยผู้ที่เข้าใจงานวัฒนธรรม
  5. ควรขยายผลเพื่อสนับสนุนการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการกับศิลปวัฒนธรรมสู่การสร้างองค์ความรู้ให้หลากหลายสาขาวิชามากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565