รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ตามมาตรฐานของคุณภาพตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพตนเองของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ย 4.89 อยู่ในระดับดีมาก

คณะกรรมการประเมินฯ มีผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา  2565  มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เท่ากับ 4.70 อยู่ในระดับดีมาก สรุปดังนี้

องค์ประกอบคุณภาพ เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน บรรลุเป้าหมาย คะแนนการประเมินของคณะกรรมการ 
ตัวตั้ง ผลลัพธ์ P= บรรลุ
ตัวหาร (%หรือสัดส่วน) O= ไม่บรรลุ
ตัวบ่งชี้บังคับ            
มรภ.พบ.ที่ 1.1 4 คะแนน 1,2,4,5 4 P 4.00
มรภ.พบ.ที่ 1.2 4 คะแนน 1,2,3,4 4 P 4.00
มรภ.พบ.ที่ 1.3 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.4 4.50 คะแนน   4.60 P 4.60
มรภ.พบ.ที่ 1.5 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.6.1 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.6.2 4 คะแนน 1,2,3,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่ 1.7 4.50 คะแนน   4.02 O 4.02
        คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้บังคับ 4.58
ตัวบ่งชี้เฉพาะ            
มรภ.พบที่  3.1 4 คะแนน 1,2,3,4 4 P 5.00
มรภ.พบที่  3.2 5 คะแนน 1,2,3,5 5 P 5.00
มรภ.พบที่  3.3 4.50 คะแนน 9 90.00 P 4.50
10
มรภ.พบที่  3.4 5 คะแนน 1,2,4,5 5 P 5.00
มรภ.พบ.ที่  3.5 4.50 คะแนน 2 100.00 P 5.00
2
        คะแนนเฉลี่ยตัวบ่งชี้เฉพาะ 4.90
เฉลี่ยคะแนนรวมทุกตัวบ่งชี้ของทุกองค์ประกอบ 4.70

จุดแข็ง แนวทางเสริมจุดแข็ง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการต่อไป

จุดแข็ง

  1. สำนักมีแผนพัฒนาสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรส่งผลให้ประสบความสำเร็จเป็น Green Office และ Green Library
  2. สำนักมีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีผลงานวิเคราะห์หรือผลงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การขอตำแหน่งที่สูงขึ้น
  3. การบริการมีความหลากหลายที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงบุคลากรมีใจรักบริการ

แนวทางเสริมจุดแข็ง

          ถอดบทเรียนความสำเร็จการจัดทำ Green Office  และ Green Library  ไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนำไปประยุกต์ใช้

ข้อเสนอแนะในภาพรวม

  1. การประเมินความสำเร็จของแผนและโครงการ นอกเหนือจากการประเมินในเชิงผลผลิตแล้ว ควรทบทวนตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ที่วัดให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปรับแผนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. พัฒนากระบวนการในการบริหารความเสี่ยง โดยการกำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก นำไปสู่การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งกำหนดตัวชี้วดความสำเร็จระดับแผนเพื่อการประเมินผลและปรับปรุงอย่างเป็นรูปธรรม

       3.บุคลากรของสำนักควรมีการวางแผนเป้าหมายการพัฒนาตนเองและผลักดันในบุคลากรเขียนผลงานวิจัยจากงานประจำ เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

  1. การประยุกต์ใช้ความรู้ในการอบรมสู่การปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับสมรรถนะหลักและสมรรถนะตามตำแหน่ง

ทั้งนี้ โดยผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเอกศักดิ์บุตรลับ อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประจำปีการศึกษา 2565