วีดีโอบันทึกกิจกรรมและสรุปผลการอบรม AUN-QA: รู้ก่อนใช้ จะได้ประโยชน์จริง

 

       ด้วยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)ได้จัดกิจกรรมการอบรม AUN-QA : รู้ก่อนใช้ จะได้ประโยชน์จริง วิทยากร โดย รศ.ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา  อนุวงศ์ ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Meeting  หรือสามารถรับชมผ่าน facebook Live ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร ได้แก่
1. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานในสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการศึกษาของมหาวิทยาลัย
2. ผู้บริหารทุกระดับ (มหาวิทยาลัย คณะวิชา/สำนักวิชา ภาควิชา/สาขาวิชา หลักสูตร) ที่ดูแลงานวิชาการและ/หรืองานประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาค ผู้ช่วยหัวหน้าภาค ประธานหลักสูตร และกรรมการบริหารหลักสูตร
3. อาจารย์ประจำหลักสูตร
4. ผู้บริหารงานสายสนับสนุนด้านวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา เช่น ผอ. และ/หรือ หัวหน้าฝ่าย

         ในการนี้กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา และหลักสูตร เข้าร่วมอบรม โดยได้จัดเตรียมห้องเสนาะกลิ่นงาม อาคารพยาบาลศาสตร์ ไว้สำหรับบุคลากรที่เข้าร่วมรับฟัง โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจำนวน 104 คน เข้าร่วมอบรมในห้องประชุมเสนาะ กลิ่นงาม จำนวน 5 คน  และรับชมผ่าน Facebook Live จำนวน 99 คน 

         

          สรุปผลการอบรม ดังนี้  

         มหาวิทยาลัยสามารถมีระบบประกันคุณภาพภายในเป็นของตนเองได้ ภายใต้การกำกับของสภาสถาบัน และมหาวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายในการใช้ AUN-QA คือเพื่อพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาระดับหลักสูตรให้ดีขึ้น โดยมีระบบประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย ดังนี้

ระดับ

การประกันคุณภาพภายใน (IQA)

การประกันคุณภาพภายนอก (EQA)

สถาบัน/มหาวิทยาลัย

EdPEx, AUN-QA (Inst.), CUPT indicators, เกณฑ์ สกอ.

ONESQA , TQA , AUN-QA (Inst.)

คณะ

EdPEx, CUPT indicators, เกณฑ์ สกอ.

TQA , International accreditation

หลักสูตร

AUN-QA (Program), International QA systems, เกณฑ์ สกอ.

AUN-QA (Prog.), Professional accreditation , International accreditation , TQR

 

            AUN-QA Version 4 มี 8 Criterion โดยการดำเนินงาน (และผลการดำเนินงาน) เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ระหว่างหลักสูตร และผู้บริหาร/บุคลากรหน่วยงาน (ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการที่เกี่ยวข้อง) ที่กำกับดูแล ทรัพยากรในการจัดการศึกษาที่ให้บริการต่าง ๆ แก่นักศึกษาและอาจารย์ โดยในการใช้หลัก PDCA
           

           การประกันคุณภาพการศึกษาที่ดีควรต้องมีการกระบวนการวางแผนที่มากกว่ากระบวนการอื่น ๆ

 

  • การเริ่มต้นการใช้ AUN-QA ไม่ควรเริ่มที่การเขียน SAR ถ้าต้องการ “คุณภาพ”
  • การเป็นครู การทำหลักสูตร การบริหารจัดการเป็นศาสตร์ (พรแสวง)
  • ผู้บริหารเป็น KSF ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์ผู้สอนทุกคนในหลักสูตร

 

วีดีโอบันทึกการอบรม AUN-QA: รู้ก่อนใช้ จะได้ประโยชน์จริง

Download : เอกสารประกอบการอบรม AUN-QA: รู้ก่อนใช้ จะได้ประโยชน์จริง