มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้าร่วมประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย(สัญจร) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565

           

           ผศ.วิเชียร  เข็มเงิน  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตตินันท์  บุญรอด อาจารย์ผู้ดูแลด้าน Green University ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาจารย์ ดร.จุติพร  อินทะนิน  รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  และนางสาวน้ำฝน  แสงอรุณ  รักษาการหัวหน้างานพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา เข้าร่วมประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (สัญจร) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2565  ณ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

           โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยจำนวน 40 สถาบัน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในมหาวิทยาลัย  และผู้บริหารร่วมปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นอกจากนั้นได้เยี่ยมชมนิทรรศการ “ผลงานวิจัยเทคโนโลยีด้านวัสดุ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นด้านศิลปะการแสดง” นิทรรศการงานวิจัย “ทุ่งหลวงรังสิต : พลวัตทางวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นิทรรศการงานวิจัย “ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต:พื้นที่ความทรงจำอัตลักษณ์ และบริบทที่เปลี่ยนแปลง  ศึกษาดูงานต้นแบบการพัฒนนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนองนา โมเดล ณ ศูนย์เรียนรู้สัมมนาชีพชุมชน ตำบลคลองหก  ศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช.  

            องค์ความรู้ที่ได้ร่วมประชุมในครั้งนี้ ทำให้ได้เรียนรู้แนวทางการดำเนินงานสรุปได้ 5 ด้าน คือ

           1) มหาวิทยาลัยควรกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัย

           2) จัดทำโครงสร้างคณะทำงาน Working team

           3) จัดทำฐานข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง

           4) การประเมินผลที่ถูกต้อง แม่นยำ

           5) การแปลผลข้อมูล การเผยแพร่ และการสื่อสารสู่ทุกระดับภายในองค์กร 

และ 9 ขั้นตอนนำการพัฒนามหาวิทยาลัยยั่งยืน คือ

           1) Renewable Energy

           2) Resource Efficiency

           3) Clean Energy for Transportation

           4) Green Area (Carbon removal)

           5) Green Procurement

           6) Research & Technology for a Carbon Capture/Reduction

           7) Plant-Based Consumption

           8) Zero Waste to Landfill

           9) Monitoring& Improvement

ภาพกิจกรรม